เมนู

อรรถกถาสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ 16


พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ 16 มีคำเริ่มต้นว่า
น เม ทิฏฺโฐ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ดังนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า อิโต ปุพฺเพ ก่อนแต่นี้ คือ ก่อนแต่พระ-
ศาสดาเสด็จหยั่งลงที่สังกัสสนครนี้. บทว่า วคฺคุวโท คือ มีกระแสเสียง
อันไพเราะ. บทว่า ตุสิตา คณิมาคโต พระศาสดาเสด็จจากดุสิตมาสู่
ความเป็นคณาจารย์ คือเสด็จมาจากดุสิต เพราะเคลื่อนจากดุสิตมาสู่ครรภ์
พระมารดา. ชื่อว่า คณี เพราะเป็นคณาจารย์ หรือว่าเสด็จมาจากเทวโลก
ชื่อว่า ดุสิต. เพราะเป็นที่ยินดี แล้วมาเป็นคณาจารย์. หรือว่าเสด็จมาเป็น
คณาจารย์ของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ยินดีแล้ว.
บทว่า อิมินา จกฺขุนา ด้วยจักษุนี้ คือ ด้วยมังสจักษุตามปกติอัน
เนื่องอยู่ในอัตภาพนี้. บทว่า อิมินา อตฺตภาเวน คือ ด้วยอัตภาพครั้ง
สุดท้ายนี้. บทว่า ตาวตึสภวเน คือ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. บทว่า
ปาริจฺฉตฺตกมูเล ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ คือภายใต้ไม้ทองหลาง. บทว่า
ปณฺฑุกมฺพลสิลายํ ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ คือหลังแผ่นหินเช่นกับผ้า
กัมพลสีแดง. บทว่า วสฺสํ วุฏฺโฐ คือ ประทับจำพรรษา. บทว่า
เทวคณปริวุโต อันหมู่เทวดาห้อมล้อมแล้ว. บทว่า โอติณฺโณ คือ
เสด็จลงแล้ว. บทว่า อิมํ ทสฺสนํ ปุพฺเพ คือ เว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่
เคยเห็นมาก่อนเลย. บทว่า น ทิฏฺโฐ คือ ไม่เคยเห็นในกาลอื่น. บทว่า
ขตฺติยสฺส วา คือ ไม่เคยได้ยินต่อกษัตริย์ตรัสบอก. แม้ในพราหมณ์
เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.